ผู้เขียน หัวข้อ: กระชายพลัส: หลักเกณฑ์การเติมสารอาหารในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  (อ่าน 24 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 495
  • สินค้าโปรโมชั่น โพสขายฟรี
    • ดูรายละเอียด
ปริมาณสารอาหารที่ สนง.คณะกรรมการอาหารและยาอนุญาตให้เติม https://www.fda.moph.go.th/sites/food/Permission/4.3.2-RuleAddSomething.pdf

    วิตามินที่ละลายได้ในไขมัน 150% RDI
    วิตามินที่ละลายได้ในน้ำ 200% RDI
    เกลือแร่ทั่วไป 150% RDI
    โซเดียม 100% RDI
    เหล็ก , สังกะสี 120% RDI
    ฟลูออไรด์ และไอโอดีน ต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของ สนง.คณะกรรมการอาหารและยา

มาตรฐานวัตถุเจือปนอาหาร

วัตถุเจือปนอาหาร หมายถึง เป็นวัตถุที่ตามปกติไม่ได้ใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิต การปรุงแต่ง รูป รส กลิ่นอาหาร การขนส่ง การบรรจุการเก็บรักษา ซึ่งล้วนมีผลต่อคุณภาพหรือมาตรฐาน หมายความรวมถึงวัตถุที่ไม่ได้เจือปนในอาหารเช่น วัตถุกันชื้น วัตถุดูดออกซิเจน เป็นต้น แต่ไม่รวมสารอาหาที่เติมเพื่อเพิ่มหรือปรับให้คงคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร เพื่อใช้เป็นประกาศฉบับหลักในการควบคุมและกำกับดูแลการใช้วัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์อาหารให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค https://www.fda.moph.go.th/sites/food/Shared%20Documents/GMP/GMPKM_4.pdf

โดยมีข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน ดังนี้

    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร
    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ.2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4)
    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 389) พ.ศ.2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5)
    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 417) พ.ศ.2563 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 1)
    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2563 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2)

เป็นเรื่องที่สำคัญอีกมาตรฐานที่ผู้บริโภคควรรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย โดยจะต้องมีการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานประเมินความปลอดภัยที่ สนง. คณะกรรมการอาหารและยาให้การยอมรับ จากประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง รายชื่อหน่วยประเมินความปลอดภัยที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้การยอมรับ ปัจจุบันมี 3 หน่วยงาน

    สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
    สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม
    ศูนย์ประเมินความเสี่ยงประเทศไทยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล


แหล่งข้อมูลอื่นๆ เพื่ออ้างอ้งด้านความปลอดภัย

ข้อคิดเห็นหรือเอกสารทางวิชาการ (Scientific opinion) จากหน่วยงานประเมินความปลอดภัยที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น

    CODEX
    European Food Safety Authority (EFSA)
    Center for Food Safety and Applied Nutrition (CFSAN)
    Food Standard Australia New Zealand (FSANZ)

ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบ / กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบในประเทศที่มีระบบประเมินความปลอดภัย หรือมีระบบในการกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาด เช่น สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา

กล่าวโดยสรุป ปริมาณสารสกัดได้มาตรฐานและมีคุณภาพนั้น ต่างมีกฎระเบียบและข้อบังคับทั้งสิ้น โดยอ้างอิงตามประกาศจากหน่วยงานรัฐ เป็นเรื่องพื้นฐานของมาตรฐานที่ผู้บริโภคควรรับรู้ ในการบริโภคอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นๆ เพราะปริมาณของสารสกัดนั้นมีผลเกี่ยวข้องกับร่างกายของผู้บริโภคโดยตรงการใส่ในปริมาณมากเกินไป ไม่เพียงแต่เกิดโทษกับร่างกาย แต่ยังเป็นการละเมิดข้อกฎหมายตามประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขอีกด้วย

เพราะฉะนั้นก่อนจะบริโภคควรอ่านข้อมูล และตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ หรือการหาข้อมูลอ้างอิงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นๆ ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ มีคุณภาพ ตรวจสอบที่มาที่ไปของแหล่งวัตถุดิบได้ และเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่ได้รับการประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยในสุขภาพของผู้บริโภค

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ผู้อ่านคงอยากรู้ข้อมูล รายละเอียด เกี่ยวกับสารสกัดว่าคืออะไร และมีที่มาที่ไป มีประโยชน์อะไรกับร่างกายทางด้านไหนบ้าง



กระชายพลัส: หลักเกณฑ์การเติมสารอาหารในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/products/