การให้อาหารทางสายยาง เป็นการให้อาหารสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้หรือผู้ที่มีปัญหาภาวะการกลืนอาหารลำบาก ซึ่งภาวะการกลืนอาหารลำบากนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไปอาจจะมีสาเหตุมาจากแผลภายในลำคอทำให้ความสามารถในการกลืนอาหารลดลง โดยส่วนใหญ่มักพบในผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันที่ไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารได้ ทำให้สามารถกลืนอาหารได้อยากไปด้วย สำหรับอาหารที่จะนำมาให้ผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยางนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารปั่นผสมหรืออาหารเหลวใสซึ่งมีการออกแบบสูตรโดยนักโภชนาการเพื่อให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
นอกจากนี้การเตรียมอาหารปั่นผสมหรือเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับให้อาหารทางสายยางจะต้องมีความสะอาดปลอดภัยเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่มีคุณภาพ สำหรับการให้อาหารทางสายยาง จะต้องกระทำโดยผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการให้อาหารทางสายยาง เพราะทุกขั้นตอนจะต้องทำด้วยความปลอดภัยและต้องคำนึงถึงเรื่องความสะอาดเป็นหลัก เพราะการให้อาหารทางสายยางมีขั้นตอนหลายขั้นตอนที่ต้องละเอียดอ่อนและต้องระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากการให้อาหารทางสายยางนั้น สามารถทำให้เกิดภาวะเสี่ยงได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาขณะให้อาหารทางสายยาง ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยอาจจะมีอาการสำลักอาหาร ซึ่งการสำลักอาหารถือว่าเป็นอันตรายมากเพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อภายในปอด หากอาหารเข้าไปในปอดจะทำให้เกิดการติดเชื้อในปอดได้
ภาวะการสำลักอาหาร คือการที่มีเศษอาหารหรือน้ำ หล่นเข้าไปอยู่ในหลอดลมซึ่งจะทำให้เกิดอาการไอติดต่อกันหลายครั้ง เพื่อขับดันให้เศษอาหารนั้นหลุดออกไปจากหลอดลม ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อเกิดการกลืนอาหารขึ้นโคนลิ้นจะผลักอาหารให้เข้าไปอยู่ในคอหอย จากนั้นฝาปิดกล่องเสียงจะเคลื่อนตัวลงมาปิดทางเข้ากล่องเสียง รวมทั้งสายเสียงทั้งสองข้างจะเคลื่อนตัวมาชิดกันเพื่อปิดทางเข้าออกของหลอดลมทำให้อาหารที่กำลังจะเคลื่อนผ่านลงไปในทางเข้าของหลอดอาหารนั้น ไม่สามารถหลุดเข้าไปในหลอดลมได้จึงไม่เกิดการสำลักอาหารขึ้น แต่โดยปกติแล้วภาวะการสำลักอาหารเกิดขึ้นได้จากสาเหตุที่ต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น พูดคุยขณะรับประทานอาหาร ฝาปิดกล่องเสียงและสายเสียงจะเปิดออก เพื่อให้เกิดเสียงพูดทำให้อาหารตกลงไปในหลอดลมและเกิดการสำลักอาหารขึ้นได้ รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดบริเวณคอหอย เช่น ผ่าตัดโคนลิ้น ผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียง ก็จะทำให้การทำงานของอวัยวะเหล่านี้ทำงานได้ไม่สมบูรณ์จึงเกิดการสำลักอาหาร เช่นเดียวกับ ผู้ที่ต้องให้อาหารทางสายยางที่เราจะเกิดภาวะเสี่ยงต่อการสำลักอาหารได้ง่าย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผู้ป่วยที่ได้รับการดมยาสลบและมีการใส่เครื่องช่วยหายใจ บางครั้งจะทำให้สายเสียงบวมและทำงานผิดปกติได้จึงเกิดภาวะเสียงแหบและการสำลักอาหารขึ้นได้
สำหรับการรักษาอาการสำลักอาหารขึ้นอยู่กับสาเหตุและตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดการสำลัก บางกรณีสามารถรักษาได้หรือยาแต่ในบางกรณีอาจต้องใช้การฝึกกลืน ฝึกการออกเสียงเพื่อให้สายเสียงแข็งแรงขึ้นและอาจจะต้องอาศัยการผ่าตัดซึ่งภาวะการสำลักอาหารบ่อยหรือรุนแรง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุสามารถทำให้เกิดทางเดินหายใจ อักเสบติดเชื้อได้เช่น หลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบ อย่างไรก็ตามหากมีการสำลักอาหารไม่ว่าจะเป็นคนทั่วไปหรือผู้ป่วยถ้าเกิดการสำลักอาหาร ควรจะหยุดรับประทานอาหารทันที ถ้าหากในกรณีที่ต้องให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลควรหยุดการให้อาหารทันที
จากนั้นถ้ามีอาการสำลักอาหารควรจัดถ้านั่งให้ก้มไปข้างหน้าเล็กน้อยหรือนอนตะแคงคว่ำ และควรนำอาหารหรือฟันปลอมที่อยู่ในปากออกให้หมด ไม่ควรทำการล้วงคอเด็ดขาด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจผิดปกติ หน้าซีดปากเขียวช้ำ ต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที เห็นได้ว่าการสำลักอาหารถือเป็นเรื่องเล็กที่ไม่ควรมองข้าม แม้การสำลักอาหารเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เป็นปัญหาใหญ่ได้ เพราะหากสำลักอาหารและอาหารเข้าไปอยู่ในปอดอาจส่งผลให้ปอดติดเชื้อหรือผู้สูงอายุ บางรายอาจสำลักมาก ๆ จนเกิดความกลัวการกลืนอาหาร และไม่ยอมรับประทานอาหาร ก็จะนำไปสู่ปัญหาภาวะขาดสารอาหารได้ เพราะฉะนั้น ต้องระมัดระวังให้มากสำหรับในผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยางผู้ดูแลจะต้องหมั่นสังเกตสายยางให้อาหารและสังเกตอาการของผู้ป่วยว่ามีความผิดปกติหรือไม่เพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยในการให้อาหารทางสายยางนั่นเอง
อันตรายจากการสำลักอาหารขณะให้อาหารสายยาง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/อาหารทางสายยาง/