อาหารสุขภาพ อาหารการกินถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวแล้ว ยิ่งต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เพราะอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้น ส่งผลต่อร่างกายโดยตรง ซึ่งสารอาหารต่างๆที่เรารับประทานเข้าไปนั้น หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน วันนี้เราจะพามารู้จักกับการรับประทานอาหารที่สามารถบำบัดโรคไวรัสตับอีกเสบ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบ เรื่องของอาหารการกินนั้นถือเป็นเรื่องที่ต้องควบคุมมากเป็นพิเศษ ซึ่งโรคไวรัสตับอักเสบ เป็นโรคเรื้อรังและรุนแรง สามารถส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยโรคดังกล่าวในตอนแรกที่ได้รับเชื้ออาจจะมีอาการรุนแรง เช่น มีไข้ ตัวเหลือง เบื่ออาหารรุนแรง น้ำหนักลด จากนั้นอาการจะหายไป แต่เชื้อไวรัสบีจะยังคงอยู่ในตัว
ซึ่งต้องดูแลมากเป็นพิเศษ ซึ่งโภชนาการบำบัดสำหรับชนิดเรื้อรัง และระยะฟื้นไข้ก็ใช้หลักการเดียวกัน คือ ใช้วิธีกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพตับเป็นหลัก เพื่อไม่ให้อาการของโรคลุกลามเร็ว หรือก็คือเป็นหลักการกินอาหารที่ดีสำหรับคนทั่วไปอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เรื่องของการจัดอาหารสำหรับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบจะต้องจัดอาหารที่ให้สารอาหารมากทุกอย่าง ในขณะที่ผู้ป่วยเบื่ออาหาร อาจช่วยได้โดยให้อาหารเหลว ในระยะแรกที่มีคุณค่ามาก (ทำด้วยนม ไข่ น้ำตาล ไอศกรีม ฯลฯ) ผสมกันให้ดื่มบ่อยๆ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และทำให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานด้วย รวมไปถึงระยะนอนพักผ่อนก็ต้องให้พลังงานมากเพียงพอ แม้ลุกจากเตียงได้แต่มิได้ออกแรงเหมือนปกติ มักจะให้ พลังงาน 2,500-3,000 กิโลแคลอรี่/วัน ให้เพียงพอกับความต้องการใช้พลังงาน เพื่อการซ่อมแซม ฟื้นฟูเนื้อเยื่อชดเชยกับการเผาผลาญที่สูงขึ้นในระยะมีไข้ ให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว มีกำลังและสุขภาพดี
ทั้งนี้ร่างกายของเราควรได้รับพลังงานพอเหมาะสำหรับแต่ละวัน สำหรับผู้ที่เป็นตับอักเสบแล้วและต้องการควบคุมอาหาร แนะนำว่าให้ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็น 3 ระยะ คือระยะที่หนึ่ง 2 สัปดาห์แรก ผู้ป่วยควรรับประทานข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ไม่ได้ขัดขาวทุกมื้อ ควรเน้นผักสดหรือผลไม้สดทุกมื้อ เช่นมื้อเช้ากินผลไม้สด มื้อเที่ยงกินส้มตำ มื้อเย็นกินสลัดผัก กินน้ำคั้นจากผักและผลไม้สด วันละ 2 แก้ว (200 ซีซี) เนื้อสัตว์ ให้รับประทานปลา อาหารทะเล และไข่ แต่ถ้าผู้ป่วยจะอยากกรับประทานอาหารประเภทเนื้อไก่ ให้รับประทานไก่พื้นบ้าน และลอกหนังออก และน้ำมันพืช ใช้เพียงเล็กน้อย พอให้ของที่ผัดไม่ติดกระทะ ต่อมาระยะที่สอง 4 สัปดาห์ถัดไป หรือจนกระทั่งตับหายอักเสบ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบควรรับประทานข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีทเหมือนเดิม และควรรับประทานผักสด ผลไม้สดทุกมื้อ ดื่มน้ำคั้นจากผักสดและผลไม้สดวันละ 4 แก้ว (200 ซีซี) ควรงดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ งดปลา กินมังสวิรัติ เช่น เต้าหู้ เห็ด วุ้นเส้นแทน งดน้ำมันทุกประเภท และกะทิ ให้กินแกงส้ม ต้มยำ ยำ ลาบ น้ำพริกแทน
ต่อมาคือระยะที่สาม ผู้ป่วยจะต้องรับประทาน ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท รับประทานผักสด ผลไม้สดทุกมื้อ ดื่มน้ำคั้นจากผักสดและผลไม้สด วันละ 2 แก้ว (200 ซีซี) รับประทานเนื้อปลา และสัตว์น้ำได้ ควรงดไก่ และไข่ งดน้ำมันทุกประเภท งดกะทิอีกด้วย เพื่อการซ่อมแซ่มและฟื่นฟูร่างกาย อย่างไรก็ตามในเรื่องของอาหารการกิน ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลจะต้องดูแลเรื่องอาหารการกินเป็นระยะเวลานาน จึงต้องระวังเรื่องพลังงานให้ดี ต้องควบคุมอย่าให้น้ำหนักตัวเกินขึ้นเรื่อย ๆ เป็นสำคัญ ทางที่ดีต้องออกกำลังให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเข้าไว้ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบ ยังมีภูมิคุ้มกันที่ยังอ่อนแอ ยังไม่แข็งแรงมาก การเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงอาจจะเกิดขึ้นในในกลุ่มผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ อย่างไรก็ตาม โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้ เพราะฉะนั้น ภาชนะ ช้อนส้อมและอุปกรณ์ต่างๆ รวมไปถึงเครื่องมือเครื่องใช้ในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบ จะต้องแยกต่างหาก เมื่อหายแล้วต้องฆ่าเชื้อเครื่องใช้ในการกินทั้งหมด โดยการต้มในน้ำและนำภาชนะไปฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการเกิดโรคติดต่ออีกด้วย
อาหารสุขภาพ เมนูบำบัดของผู้ป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://thetastefood.com/