ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: เคล็ดไม่ลับ แก้ปัญหาส่วนต่างๆของบ้าน ที่ทุกบ้านต้องเจอ  (อ่าน 119 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 723
  • สินค้าโปรโมชั่น โพสขายฟรี
    • ดูรายละเอียด
ปัญหาการเสื่อมสภาพของวัสดุสร้างบ้านเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดได้กับบ้านทุกหลังหรือในบ้างครั้งการที่ส่วนประกอบของบ้านเสริมสภาพหรือเสียหายเร็วกว่าที่ควรอาจเป็นเพราะการติดตั้งที่ไม่ถูกวิธีนั้นเอง โดยจุดของบ้านที่มักพบปัญหาทรุดโทรมบ่อยที่สุด เช่น การแตกร้าวของผนัง ประตูติดขัดหรือบานประตูตก พื้นบ้านแตกร้าวจากการต่อเติม รางน้ำเสียหายเร็วกว่าอายุการใช้งาน เป็นต้น

วันนี้เรามีเคล็ด (ไม่) ลับการเสริมแนวป้องกันเพื่อไม่ให้บ้านเสื่อมสภาพเร็วและเพิ่มอายุการใช้งานของวัสดุต่างๆในบ้านดังนี้ค่ะ


"จุดที่ 1"

บานพับที่นิยมใช้ในการติดตั้งประตูคือ บานพับผีเสื้อโดยจะมีหลายวัสดุ เช่น เหล็กชุบสี ทองเหลือง สเตนเลส โดยในการติดตั้งควรติดที่ส่วนบนของประตูจำนวน 2 ตัวเพราะเป็นส่วนที่รับน้ำหนักจากการเปิดปิดประตูมากที่สุดและติดที่ส่วนล่างลงมากอีก 1 - 2 ตัวตามน้ำหนักของประตู เช่น ประตูไม้อัด หรือ ไม้สังเคราะห์ที่มีน้ำหนักไม่มากใช้บานพับจำนวน 3 ตัว และประตูไม้จริงที่มีน้ำหนักมากขึ้นก็ให้เพิ่มจำนวนเป็น 4 ตัวหรือ 5 ตัวตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นค่ะ


"จุดที่ 2"

แก้ปัญหาคราบเปื้อนบริเวณเชิงผนังด้วยการติดตั้งบัวผนังในรูปแบบต่างๆดังนี้ค่ะ

- ติดตั้งบัวผนังแบบนู้นออกมาจากผนัง รูปแบบนี้สามารถติดตั้งได้ง่ายทั้งบ้านที่กำลังสร้างและบ้านที่สร้างเสร็จแล้วก็สามารถนำบัวผนังมาติดตกแต่งเพื่อปิดรอยเปื้อนได้ดีค่ะ

- ติดตั้งแบบราบไปกับผนังโดยต้องเว้นระยะผนังเพื่อไว้ติดตั้งบัวผนังให้เป็นแนวระนาบเดียวกับ

- ตั้งตั้งอลูมิเนียมมุมฉากลึกเข้าไปในผนังวิะีนี้เหมาะกับบ้านสไตล์โมเดิร์นเป็นยังสามารถเพิ่มลูกเล่นด้วยการติดตั้งไฟซ่อนผนังได้อีกด้วย

*ในการติดตั้งบัวผนังโดยรอบเป็นวิธีที่ทำได้หลากหลายและสามารถเลือกลวดลายบัวในการตกแต่งได้แต่อาจต้องใช้งบประมาณซักหน่อยโดยมีอีกวิธีที่จะช่วยพลางคราบเปื้อนได้ดีอย่างการทาสีโทนเข้มบริเวณเชิงผนังขึ้นมาจากพื้นประมาณ 30 ซม.ก็สามารถทำได้ง่ายๆและประหยัดงบประมาณนั่นเองค่ะ


"จุดที่ 3"

จุดรอยต่อบนผนัง เช่น ผนังปูน ทรายล้าง แผ่นไม้ หรือแผ่นกระเบื้อง

- ในการทำผนังปูนทรายล้างหรือหินล้างควรเซาะร่องทุก 3-4 เมตรเพื่อป้องกันการแตกร้าวเนื่องจากการขนาดตัวของวัสดุ

- การบุผนังด้วยแผ่นไม้ควรต่อไม้แบบเข้าลิ้นหรือซ่อนแบบบังใบจะช่วยให้ผนังจะดูสวยแม้ไม้เกิดการยืดหดตัว

- การบุผนังด้วยกระเบื้องควรเว้นระยะกระเบื้องให้ได้แนวตามระยะการเว้นของกระเบื้องแต่ละประเภทแล้วยาแนวด้วยวัสดุยาแนวเพื่อป้องกันกระเบื้องโกงตัวและแตกหักเสียหายค่ะ


"จุดที่ 4"

พื้นส่วนต่อเติม ออกจากตัวบ้าน ทั้งแบบแนวระนาบเดียวกับและแบบต่างระดับ โดยในการต่อเติมนั้นหากต่อเติมทับบนส่วนเดิมเมื่อเวลาผ่านไปพื้นเกิดยุบบริเวณจุดต่อเติมจะทำให้พื้นบ้านเกิดการแตกร้าวไปด้วยดังนั้นในการต่อเติมพื้นเพื่อไม่ให้เกิดรอยราวบนพื้นมีวิธีแนะนำดังนี้ค่ะ

- การต่อเติมพื้นในระนาบเดียวกัน ควรเว้นร่องระยะประมาณ 1 เซนติเมตรแล้วยาแนวด้วยวัสดุยืดหยุ่น เพื่อไม่ให้พื้นบ้านเสียหายจากการยุบตัวของพื้นส่วนต่อเติม

- การต่อเติมพื้นต่างระดับ ควรเว้นระยะประมาณ 15-20 เซนติเมตรแล้วโรยกรวดตกแต่งเพื่อเวลาที่พื้นเกิดรอยร้าวหินกรวดจะช่วยพลางไว้ได้นั่นเอง


"จุดที่ 5"

รอยร้าวบนผิวฉาบ ในบริเวณขอบประตูหน้าต่าง ที่มักเกิดรอยร้าวได้ง่ายหรืองานฉาบปรับระดับปูนที่หนาเกินไป สามารถใช้ตะแกรงเหล็กมาแปะส่วนที่ต้องการก่อนแล้วคอยฉาบผนัง หรือใช้สารเคมีฉาบบางมาผสมเพื่อให้งานฉาบที่บางไม่เกิดรอยแตกร้าวได้ง่ายนั่นเองค่ะ


บริหารจัดการอาคาร: เคล็ดไม่ลับ แก้ปัญหาส่วนต่างๆของบ้าน ที่ทุกบ้านต้องเจอ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/