ผู้เขียน หัวข้อ: ฟันหน้าร้าวเป็นเส้น ฟันร้าว อาการฟันแตกจากการเคี้ยวของแข็งๆ  (อ่าน 158 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 659
  • สินค้าโปรโมชั่น โพสขายฟรี
    • ดูรายละเอียด
คุณเคยเคี้ยวของแข็งๆ ไหม ? การเคี้ยวของที่แข็งมากๆ อาจส่งผลหลายๆ สิ่งแก่เราได้มากมาย ซึ่งสิ่งหนึ่งที่จะส่งผลแน่ๆ ก็คือ "อาการฟันร้าว" นั่นเอง โดยอาการฟันร้าวเป็นภาวะที่เกิดรอยร้าวขึ้นที่ฟัน ซึ่งอาจทำให้เราต้องปวดฟันในขณะที่เคี้ยวอาหารหรือรับประทานอาหารที่เย็นจัดหรือร้อนจัด ซึ่งฟันร้าวอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุ การรับประทานอาหารที่แข็ง การนอนกัดฟัน หรืออาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่ออายุมากขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้หากเราไม่ทำการรักษาให้ดี และเหมาะสม ผลของอาการฟันร้าวอาจทำให้เราต้องสูญเสียฟันไปได้เลย

อาการฟันร้าวประเภทต่างๆ

-    ผิวเคลือบฟันร้าว : เป็นรอยร้าวของฟันเล็กๆ ตื้น ส่งผลต่อผิวเคลือบฟันด้านนอก ซึ่งฟันร้าวลักษณะนี้เกิดขึ้นได้ทั่วไปในผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดอาการปวด และไม่จำเป็นต้องรักษา
-    ปุ่มฟันแตก : เกิดขึ้นเมื่อฟันที่ใช้บดเคี้ยวแตกออก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณที่อุดฟัน ส่วนใหญ่ไม่ส่งผลต่อประสาทของฟัน และไม่ทำให้เกิดอาการปวดมากนัก โดยอาจรักษาได้ด้วยการอุดฟัน หรือทำการครอบฟัน
-    ฟันร้าวถึงรากฟัน : เกิดขึ้นเมื่อฟันที่ใช้บดเคี้ยวเกิดรอยร้าวเป็นแนวดิ่งลงไปถึงรากฟัน แต่ไม่ทำให้ฟันแยกออกจากกัน โดยรอยร้าวอาจขยายออกไปอย่างช้าๆ หากรอยร้าวยังขยายไปไม่ถึงประสาทฟัน เราสามารถรักษาฟันซี่ดังกล่าวได้ด้วยการรักษารากฟันรวมถึงการครอบฟัน เพื่อป้องกันการขยายตัวของรอยร้าว แต่หากรอยร้าวกระจายไปยังรอยต่อของเหงือกและฟันแล้ว เราอาจต้องถอนฟันซี่นั้นออก
-    ฟันแยก : เป็นรอยร้าวที่เกิดบนผิวฟันลงไปถึงใต้รอยต่อของเหงือก มักเกิดจากภาวะฟันร้าวที่สะสมมานานและอาจทำให้ฟันซี่นั้นแยกออกจากกัน ซึ่งเราอาจเข้ารับการรักษาเพื่อรักษาฟันบางส่วนเอาไว้ได้
-    รากฟันแตกในแนวดิ่ง เป็นรอยร้าวที่ขยายจากรากฟันขึ้นมายังฟันที่ใช้บดเคี้ยว โดยรอยร้าวลักษณะนี้มักแสดงอาการเพียงเล็กน้อยจึงทำให้สังเกตได้ยาก แต่หากฟันซี่นั้นเกิดการติดเชื้ออาจช่วยให้สังเกตอาการได้ชัดขึ้น ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องถอนฟันออกไป แต่หากยังอยู่ในขั้นที่สามารถรักษาฟันเอาไว้ได้ แพทย์อาจผ่าตัดรากฟันเพื่อรักษาในกรณีนี้


สาเหตุของฟันร้าว

 -   การใช้ฟันฉีกอาหารหรือเคี้ยวอาหารที่แข็ง เช่น น้ำแข็ง ถั่ว ลูกอม และกระดูก เป็นต้น
 -   อุณหภูมิภายในปากเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ซึ่งอาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่ร้อนจัดตามด้วยอาหารที่เย็นจัดเพื่อดับความร้อนในปาก
 -   การกัดฟัน
-    มีรอยอุดฟันขนาดใหญ่ จนทำให้ความเเข็งแรงของฟันลดลง
-    อุบัติเหตุต่างๆ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา การหกล้ม การชกต่อย
-    อายุ โดยภาวะฟันร้าวมักเกิดกับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

การรักษาฟันร้าว

-    ตรวจติดตามอาการ : คนที่มีรอยร้าวที่เล็กมากบริเวณเคลือบฟัน ซึ่งหากอาการเหล่านี้ไม่ส่งผลต่อลักษณะฟันหรือก่อให้เกิดความเจ็บปวด หมออาจเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยเป็นระยะ โดยไม่ต้องใช้ยารักษา ทำหัตถกรรม หรือให้ผู้ป่วยรับการผ่าตัดใดๆ
-    การอุดฟัน : เป็นการใช้วัสดุอุดฟันอุดที่รอยแตกเพื่อซ่อมแซมฟันบริเวณที่มีรอยร้าว
-    การครอบฟัน : หมออาจนัดให้ผู้ป่วยมาพบหลายครั้งเพื่อทำการการครอบฟัน โดยในช่วงแรกแพทย์อาจให้ใส่ที่ครอบฟันชั่วคราวก่อน หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นที่ครอบฟันถาวร ซึ่งที่ครอบฟันอาจใช้งานได้ตลอดชีวิตหากได้รับการดูแลรักษาอย่างดี
-    การรักษารากฟัน : หากรอยร้าวขยายไปถึงประสาทฟัน หมออาจแนะนำให้ผู้ป่วยรักษารากฟันโดยนำโพรงประสาทฟันที่ถูกทำลายออกไป และซ่อมแซมความแข็งแรงของฟัน ซึ่งวิธีนี้อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อที่โพรงประสาทฟันได้
-    การถอนฟัน : หากโครงสร้างฟัน เส้นประสาทฟัน หรือรากฟันที่อยู่ข้างใต้เกิดความเสียหายรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยถอนฟันออกแทน


ฟันหน้าร้าวเป็นเส้น ฟันร้าว อาการฟันแตกจากการเคี้ยวของแข็งๆ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://bit.ly/43cwHxV