ผู้เขียน หัวข้อ: หมอประจำบ้าน: ผมร่วง ผมบาง (Alopecia/Baldness)  (อ่าน 55 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 723
  • สินค้าโปรโมชั่น โพสขายฟรี
    • ดูรายละเอียด
หมอประจำบ้าน: ผมร่วง ผมบาง (Alopecia/Baldness)
« เมื่อ: วันที่ 26 สิงหาคม 2024, 19:31:02 น. »
หมอประจำบ้าน: ผมร่วง ผมบาง (Alopecia/Baldness)

ผมร่วง (ผมบาง) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย แต่จะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง มีสาเหตุได้มากมายหลายอย่าง บางอย่างอาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ เช่น ศีรษะเถิก ศีรษะล้าน บางอย่างอาจมีสาเหตุจากโรคต่าง ๆ เช่น ซิฟิลิส เอสแอลอี ภาวะขาดไทรอยด์ กลาก ขาดอาหาร โรคเรื้อรังอื่น ๆ เป็นต้น บางอย่างอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุก็ได้

ในที่นี้จะกล่าวถึงสาเหตุที่พบบ่อย


ผมร่วงตามธรรมชาติ

เส้นผมบนศีรษะของคนเรามีประมาณ 100,000 เส้น ประมาณร้อยละ 85-90 จะอยู่ในช่วงที่มีการเจริญงอกงาม ซึ่งจะงอกยาวขึ้นวันละประมาณ 0.35 มม. และสามารถมีอายุอยู่ได้นาน 2-6 ปี แล้วจะหยุดการเจริญงอกงาม ในส่วนที่เข้าระยะที่หยุดการเจริญงอกงามจะมีอยู่ประมาณร้อยละ 10-15 ซึ่งจะร่วงไปในระยะประมาณ 3 เดือน การหวีผมหรือสระผมจะช่วยให้เส้นผมเหล่านี้ร่วงหลุดง่ายขึ้น คนปกติจะมีผมร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ไม่เกินวันละ 100 เส้น ซึ่งถือว่าเป็นผมร่วงตามธรรมชาติ หลังจากนั้นก็มีเส้นผมใหม่งอกขึ้นมาแทน วนเวียนไปเรื่อย ๆ แบบเดียวกับเซลล์ของผิวหนังที่มีบางส่วนที่ตายและหลุดออกมาเป็นขี้ไคลทุกวัน

บางคนเมื่อมีความวิตกกังวล จะมีอาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ใจสั่น และอาจรู้สึกว่ามีอาการผมร่วงผิดปกติ ซึ่งความจริงผมของคนเหล่านี้มิได้ร่วงมากผิดธรรมชาติ (คือไม่เกินวันละ 100 เส้น) แต่เนื่องจากความวิตกกังวลจึงกลัวว่าจะเป็นโรคอะไร

ผู้ป่วยเหล่านี้จะไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด นอกจากอาการของโรคกังวล

ผมร่วงชนิดนี้เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุดของผู้ที่บ่นว่ามีอาการผมร่วง


รอยแผลเป็นที่หนังศีรษะ

รอยแผลเป็นที่ศีรษะ อาจเกิดจากบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ถูกสารเคมี หรือเกิดจากการติดเชื้อรุนแรงจากแบคทีเรีย (เช่น ฝี พุพอง ชันนะตุ) โรคเชื้อรา หรืองูสวัด ทำให้เป็นแผลเป็น ไม่มีผมขึ้นอย่างถาวร

ไม่มียาที่ใช้รักษาอย่างได้ผล ถ้าจำเป็นอาจต้องทำการผ่าตัดปลูกผม


ผมร่วงจากการทำผม

การทำผมด้วยการม้วนผม ดัดผม เป่าผม อาจทำให้มีอาการผมร่วงได้ ภาวะนี้ไม่ถือว่าเป็นสาเหตุร้ายแรง

ถ้าผมร่วงมาก ควรหลีกเลี่ยงการม้วนผม ดัดผม เป่าผม อาการผมร่วงก็มักจะทุเลาไปได้เอง แต่ถ้าไม่ได้ผลควรปรึกษาแพทย์


ผมร่วงกรรมพันธุ์

ผมร่วงชนิดนี้เป็นภาวะที่พบได้บ่อย พบได้ทั้งสองเพศ แต่จะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง


ผมร่วงจากซิฟิลิส (ระยะที่ 2)

ผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิส ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งอาจมีอาการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ อาการผมร่วงพบในระยะที่ 2 ของโรค (ดู "โรคซิฟิลิส" เพิ่มเติม)


ผมร่วงเนื่องจากผมหยุดเจริญชั่วคราว

ปกติเส้นผมของคนเรามีอายุนาน 2-6 ปี แล้วจะหยุดการเจริญงอกงาม ในแต่ละวันจะมีเส้นผมประมาณ 100 เส้นที่เสื่อมและหลุดร่วงไป

แต่ในบางภาวะ เส้นผมที่กำลังเจริญอาจหยุดการเจริญในทันที ทำให้มีเส้นผมเสื่อมและหลุดร่วงเพิ่มจำนวนมากกว่าปกติ ดังนั้นจึงทำให้เกิดอาการผมร่วงมากกว่าปกติได้

ผมร่วงจากโรคอื่น ๆ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคบางอย่าง เช่น เอสแอลอี ภาวะขาดไทรอยด์ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น ก็อาจมีอาการผมร่วง ผมบาง ร่วมกับอาการของโรคเหล่านี้ เช่น เป็นไข้เรื้อรัง ปวดตามข้อ มีผื่นปีกผีเสื้อขึ้นที่หน้า ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น


ผมร่วงจากยาและการฉายรังสี

ยาที่อาจทำให้เกิดอาการผมร่วงมีอยู่หลายชนิด เช่น ยารักษามะเร็ง (เคมีบำบัด) สารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) เช่น เฮพาริน (heparin) ยารักษาคอพอกเป็นพิษ ยาคุมกำเนิด คอลชิซีน อัลโลพูรินอล (allopurinol) ซึ่งใช้รักษาโรคเกาต์ แอมเฟตามีน (amphetamine) เป็นต้น

นอกจากนี้ การฉายรังสีในการรักษามะเร็ง ก็อาจทำให้ผมร่วงได้

หากสงสัยมีผมร่วงจากวิธีรักษาของแพทย์ ควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์


โรคผมร่วงหย่อมไม่ทราบสาเหตุ

ผมร่วงเป็นหย่อมไม่ทราบสาเหตุ หมายถึง อาการผมร่วงซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะที่ มีผมแหว่งเป็นหย่อม ๆ ซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน คือ ตรวจแล้วไม่พบว่ามีสาเหตุใด ๆ (เช่น โรคเชื้อรา ซิฟิลิส การถอนผม รอยแผลเป็น หรือสาเหตุอื่น ๆ)

แต่มีโรคผมร่วงเป็นหย่อมอยู่ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เรียกว่า โรคผมร่วงหย่อมไม่ทราบสาเหตุ (alopecia areata) เป็นภาวะที่พบได้เป็นครั้งคราว พบมากในวัยหนุ่มสาว พบน้อยในคนอายุเกิน 45 ปีขึ้นไป ทั้งหญิงและชายมีโอกาสเป็นเท่า ๆ กัน ภาวะเครียดทางจิตใจอาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการได้


ผมร่วงจากเชื้อรา (โรคกลากที่ศีรษะ/เชื้อราที่ศีรษะ)

โรคเชื้อราที่ศีรษะ (กลากที่ศีรษะ) อาจพบได้บ่อยในเด็ก แต่จะไม่ค่อยพบในผู้ใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อรา ซึ่งมักจะลุกลามจากบริเวณอื่นของร่างกาย

พบได้บ่อยในเด็กที่มีปัญหากดดันทางจิตใจด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเรียน เป็นต้น เด็กบางคนอาจถอนผมเล่นจนเป็นนิสัย โดยไม่มีปัญหาทางจิตใจก็ได้ (เรียกอาการนี้ว่า “Trichotillomania”)